วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์เรื่องการตอบสนองของพืช ที่ได้รับมอบหมาย

  สารยับยั้งการเจริญเติบโต (plant growth inhibitors
           สารกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการถ่วงดุลกับสารเร่งการเติบโตพวก auxins  gibberellins และcytokinins เพื่อให้การเติบโตเป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี ส่วนใหญ่มีหน้าที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และการเติบโตของเซลล์ ทำให้เกิดการพักตัว (dormancy) และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของอวัยวะพืช  ฮอร์โมนในกลุ่มนี้มีพบในพืชมีกว่า 200 ชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดและรู้จักกันดีคือ เอบีเอ (ABA) (abscisic acid) ในทางการเกษตรมีการใช้ประโยชน์จากสารกลุ่มนี้น้อยมาก อย่างไรก็ตามมีการใช้สารสังเคราะห์เพื่อประโยชน์บางอย่างเช่นยับยั้งการงอกของหัวมันฝรั่งและหอมหัวใหญ่ ระหว่างการเก็บรักษา ใช้แทนการเด็ดยอด (pinching) เพื่อกระตุ้นให้แตกตาข้าง รวมทั้งยับยั้งการเติบโตทางกิ่งใบ ซึ่งมีผลในการกระตุ้นดอกได้ในพืชบางชนิด สารสังเคราะห์ที่สำคัญได้แก่
                     -Chlorflurenol
                     -dikegulac sodium
                     -maleic hydrazide
                     -TIBA
       จากคุณสมบัติสำคัญในการยับยั้งการแบ่งเซลล์ของพืช จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ในบางกรณีครับ เช่น การใช้  maleic hydrazide ยับยั้งการงอกของหัวใหญ่มันฝรั่ง ใช้ในการชักนำให้เกิดการพักตัวของต้นส้มเพื่อการสะสมอาหารสำหรับออกดอก สารยับยั้งการเติบโตมีผลยับบั้งการแบ่งเซลล์ในบริเวณปลายยอด หรืออาจกล่าวได้ว่า มีผลทำลายตายอด จึงทำให้ออกวินไม่สามารถสร้างขึ้นที่ปลายยอดได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ตาข้างเจริญออกมาแทน ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการบังคับให้ต้นแตกกิ่งแขนงได้มาก เช่นการใช้ มาเลอิก ไฮดราไซด์ เพื่อการแตกพุ่มของไม้พุ่มหรือไม้ที่ปลูกตามแนวรั้ง การใช้คลอฟลูรีนอล เพิ่มจำนวนหน่อของสับปะรดและสับปะรดประดับ อย่างไรก็ตามประโยชน์ของสารกลุ่มนี้ยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ 


ethylene

ethylene เป็นชนิดเดียวที่เป็น ก๊าซ ช่วยเร่งการสุกผลไม้ เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า ผลไม้สุก หรือ ผลไม้ที่เน่าเสีย จะมีผลไปเร่งให้ผลไม้อื่นสุกเร็วขึ้น ซึ่งพบว่าเกิดจากการปล่อยสารระเหยบางชนิดออกมา และ     ในปี 1934 R. Gane  เป็นผู้พิสูจน์ว่า สารนี้คือ ethylene (C2H4) ต่อมาพบว่า นอกจากจะมีผลในการกระตุ้นการสุกของผลไม้แล้ว ยังมีผลต่อพืชในแง่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น การร่วงของใบ การออกดอกของสับปะรด การเพิ่มปริมาณของน้ำยางพารา เป็นต้น เป็นฮอร์โมนชนิดเดียวที่เป็นก๊าซ
เป็นฮอร์โมนพืชมีสมบัติเป็นแก๊สที่ระเหยได้ เกิดขึ้นในกระบวนการ metabolism ของพืช โดยเฉพาะในช่วงที่ผลไม้สุก จะมีแก๊สนี้แพร่ออกมามาก และสามารถเหนี่ยวนำให้ผลไม้ที่อยู่ใกล้ ๆ สุกตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ในการบ่มผลไม้ จึงมักวางผลไม้ รวมกันไว้ในที่มิดชิด เมื่อเกิด  ethylene  ออกมาแล้ว ทำให้ผลไม้ที่อยู่ข้าง ๆ สุกตามไปด้วย 

Ø    แหล่งที่สังเคราะห์ ในพืชชั้นสูง คือ เนื้อเยื่อผลไม้ที่สุก ใบแก่ และ ดอก
Ø    หน้าที่สำคัญ

  • ·       กระตุ้นการสุกของผลไม้         
  • ·       กระตุ้นการร่วงของใบ
  • ·       กระตุ้นการออกดอก             
  • ·       ยับยั้งการยืดตัวของลำต้น
                   ยับยั้ง หรือ กระตุ้นการออกราก ใบ หรือ ดอก แล้วแต่ชนิด ของพืช และ มีผลต่ออีกหลายๆ ขบวนการของพืชที่เกี่ยวกับความแก่ (Aging or Senescence) โดยทำหน้าที่ร่วมกับ hormone ชนิด อื่น ๆ
เอทิลีนกระตุ้นการออกดอกของสับปะรด



cytokinin

                Cytokinin มาจาก เพิ่มการแบ่งเซลล์ cytokinesis เป็นฮอร์โมนพืชที่ค้นพบเนื่องมาจากการวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (plant tissue culture) โดยทีมนักวิจัยนำโดย F. Skoog มหาวิทยาลัย Wisconsin พบว่าน้ำมะพร้าว และ น้ำสะกัดจากยีสต์ จะสามารถ เร่งการแบ่งเซลล์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้ เมื่อแยกและทำให้บริสุทธิพบว่าเป็น N6-furfurylamino purine และเรียกว่า kinetin เนื่องจากเป็นสารเร่งกระบวนการแบ่งเซลล์ (cytokinesis) ซึ่งถือว่าเป็น cytokinin        ตัวแรกที่ค้นพบ แต่ชนิดที่พบมากที่สุดในพืชคือ Zeatin              (พบครั้งแรกในข้าวโพด=Zea mays) ชื่อ cytokinin เสนอโดย Skoog และคณะในปี 1965
                   เป็นฮอร์โมนพืชที่พบมากบริเวณปลายราก embio  ผลอ่อน น้ำมะพร้าว และยีสต์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ใน ระหว่างการเจริญเติบโต
Ø    แหล่งที่สังเคราะห์ ในพืชชั้นสูง คือ บริเวณเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญ โดยเฉพาะที่ราก ต้นอ่อน และ ผล
Ø    หน้าที่สำคัญ

  • ·       กระตุ้นการแบ่งเซลล์  และ เร่งการขยายตัวของเซลล์
  • ·       ส่งเสริมการเจริญของตาข้าง - ชะลอการแก่ของใบ
  • ·       ช่วยการงอกของเมล็ด - ควบคุมการปิดเปิดปากใบ
  • ·       และ อื่น ๆ โดยทำหน้าที่ร่วมกับ Auxin
การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ




 abscisic acid

               abscisic acid หรือ ABA มาจาก การร่วงของใบ abscission ค้นพบจากการศึกษาสารเร่งกระบวนการร่วงของใบที่เรียกว่า abscission และ เมื่อมีการทำให้        บริสุทธิพบว่าเป็นสาร     ตัวเดียวกันกับ สารยับยั้งการเจริญของตา (bud dormancy-inducing substances) ที่เรียกกันว่า dormin และสารยับยั้งการยืดตัวของ coleoptile โดย auxin (IAA) ที่เรียกว่า growth inhibitor  ชื่อ abscissic acid หรือ ABA เป็นที่ยอมรับกันในปี 1967
                 เป็นฮอร์โมนพืชที่พบมากในใบที่แก่จัด ตา เมล็ด ในผลทุกระยะ และบริเวณหมวกราก สภาวะขาดน้ำกระตุ้นให้พืชสร้าง abscisic acid  ได้มากขึ้น abscisic acid สามารถลำเลียงไปตามท่อลำเลียงและเนื้อเยื่อที่มีชีวิตของพืช 
Ø    แหล่งที่สังเคราะห์ ในพืชชั้นสูง คือ มีการสังเคราะห์ได้ทั้งที่บริเวณ ลำต้น ราก ใบ และ ที่ผล เป็นฮอร์โมนที่ต่างจาก 3 ตัวแรก คือ เป็นสารชนิดเดียวคือ abscisic acid
Ø    หน้าที่สำคัญของABA

  • ·       เริ่มต้นคิดว่าทำหน้าที่เกี่ยวกับการร่วงของใบ และการยับยั้งการเจริญของตา แต่ในปัจจุบันพบว่าเกี่ยวกับสองขบวนการนี้น้อย
  • ·       หน้าที่หลักของ ABA คือ ยับยั้งการเจริญ หรือ ยับยั้ง      การทำงานของฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ 
  • ·       ยับยั้งการงอกของเมล็ด
  • ·       กระตุ้นการปิดของปากใบเมื่อขาดน้ำ